วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

MK Restaurant "ช่วงเวลาแห่งความอบอุ่น"



ประวัติ
เอ็มเค สุกี้ เป็นธุรกิจร้านอาหารประเภทสุกี้ บริหารงานโดยบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2529 ที่ ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว โดยมีที่มาจากแต่เดิมเอ็มเค เป็นร้านอาหารไทยคูหาเดียวที่สยามสแควร์ ดำเนินกิจการโดยคุณป้าทองคำ เมฆโต ซึ่งซื้อกิจการมาจาก นางมาคอง คิงยี (Markon Kin - MK) ชาวฮ่องกง มีอาหารขึ้นชื่ออย่าง ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น แป๊ะซะปลาช่อน ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลี และขยายเป็น 2 คูหา จนถึงปี 2527 คุณป้าได้รับการชักชวนให้ไปเปิดร้านที่เซ็นทรัลพลาซ่า ในชื่อร้านใหม่ว่า ร้านกรีน เอ็มเค ต่อมาคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ นายห้างเซ็นทรัล ได้ชักชวนให้เปิดร้านสุกี้ เอ็มเคแห่งแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว

ปัจจุบัน เอ็มเค สุกี้ มีสาขา 300 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาที่ 300 ได้เปิดตัวที่เซ็นทรัลชลบุรี และยังมีอีก 15 สาขา ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฟูกูโอกะ ซึ่งก็มีการนำน้ำจิ้มสุกี้จากประเทศไทยไปบริการที่ญี่ปุ่นด้วย

นอกจากนี้ในปี 2549 เอ็มเค สุกี้ ได้ออกแบรนด์ใหม่ เอ็มเค โกลด์ โดยเปิดให้บริการเป็นแห่งแรกที่สยามพารากอน จับกลุ่มคนผู้มีกำลังซื้อสูง มีรสนิยม และยังเปิดให้บริการเพิ่มเติมอีกที่ The Esplanade (รัชดา) Central World ศาลาแดง เอกมัย และจังซีลอน (ป่าตอง ภูเก็ต)

ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่า โดยอ้างอิงองค์ประกอบของคุณค่าแบรนด์ทั้ง 4 ของ David Aaker

Awareness

แบรนด์ MKได้มีนโยบายเรื่องการบริการลูกค้า ปัจจุบันใช้วิธีกระจายศูนย์โดยแต่ละสาขาจะได้รับการฝึกให้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และสร้างบริการที่ประทับใจแก่ลูกค้าได้ด้วยตนเองเน้นการชูจุดขายที่ว่าอาหารมีความสดใหม่ตลอดเวลา และยังมีการโฆษณาว่าทางภัตตาคารไม่มีการใช้ผงชูรส ช่วยให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในการรับประทานอาหารมากขึ้น มีการโฆษณาอยู่สม่ำเสมอ และยังใช้สร้างคำที่ทำให้ลูกค้าติดหูได้โดยใช้ คำว่า “ กินอะไร กินอะไร กินอะไรไปกิน MK ” ทำให้ลูกค้าจำภาพลักษณ์ของร้านได้ ภัตตาคาร MK อยู่ในตำแหน่งของ Differentiation คือ เน้นตลาดกลุ่มใหญ่ และมุ่งเน้นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับร้าน เช่น มีเอกลักษณ์ในการตกแต่งร้าน โดยจะเน้นสไตล์จีน นอกจากนี้ยังเน้นการให้บริการที่เป็นกันเองและอบอุ่น

Loyalty

แบรนด์ MK นั้นเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนั้นยึดติดในรสชาติของอาหารทั้ง สูตรของน้ำจิ้ม เป็ด ที่มีสูตรเด็ดไม่เหมือนใครทำถึงแม้ปัจจุบันจะมีร้านอาหารมาเลียนแบบแต่ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแบรนด์ไปรับประทานร้านลียนแบบเลย อาจเป็นเพราะสูตรของน้ำจิ้ม เป็ดหรือแม้กระทั่งการบริการ การเต้นของพนักงานนอกจากนี้ยังมีการให้บริการที่
อบอุ่นและเป็นกันเอง ทำให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นครอบครัวนิยมมารับประทาน
รูปแบบของการสั่งอาหารจะเป็นแบบเปิดเมนูสั่ง โดยมีพนักงานมาบริการอยู่ใกล้โต๊ะที่นั่ง คอยแนะนำเมนูใหม่ๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยทางMK นั้นจะวัดความพึงพอใจจากแบบสอบถามตามโต๊ะโดยผู้บริโภคเลือกแล้วแต่จะติ-ชม หรือไม่และยังมีการสะสมแต้มเพื่อเป็นส่วนลดและมีการส่งใบเสร็จค่าอาหารลุ้นไปต่างประเทศด้วย
แบรนด์ MKได้เปิดร้านสุกี้MKสาขาแรกขึ้น ในห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว และทำการขยายสาขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสาขาของMKในประเทศไทยมีกระจายอยู่ทุกภาค ซึ่งมีทั้งหมด 161 สาขา ทั่วประเทศ และยังขยายสาขาไปยังประเทศญี่ปุ่น ถึง18 สาขา และยังมี MK Trendy ที่จับกลุ่มวัยรุ่น ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัย สนุกสนาน และมีสีสันด้วย Music Station และเมนูอาหารที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

Perceived Quality

มีเอกลักษณ์ในการตกแต่งร้าน โดยจะเน้นสไตล์จีน นอกจากนี้ยังเน้นการให้บริการที่เป็นกันเองและอบอุ่นมีเพดานเปิดสูง ทำให้รู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย เป็นบรรยากาศที่เหมาะแก่การนั่งทางร้านปูพื้นด้วยกระเบื้องผิวหยาบ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ โดยสีพื้นกระเบื้องนั้นได้มีการแบ่งในส่วนของการบริการลูกค้าและส่วนผลิตอาหาร แบ่งแยกสีออกจากกันชัดเจน ดูเป็นสัดส่วน ทานอาหาร และมีติดSprinkle เพื่อป้องกันเมื่อเกิดอัคคีภัย ส่วนมาตรฐานการให้บริการนั้น การเตรียมตัวส่วนของพนักงาน พนักงานทุกคนจะมีการแต่งกายอย่างเรียบร้อย พนักงานทุกคนจะมีเมื่อไปถึงหน้าร้านจะมีพนักงานต้อนรับเข้ามากล่าวทักทาย และถามว่า มาทั้งหมดกี่ท่าน และเดินพาไปนั่งที่โต๊ะ หลังจากนั้นจะให้สั่งเครื่องดื่มและอาหาร ทางภัตตาคาร MK จะเสิร์ฟอาหารโดยใช้รถเข็น เมื่อชำระเงินทางภัตตาคารจะนำบิลใส่มาในถาดเพื่อให้แก่ลูกค้า และจะนำใบคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับประทานไปในมื้อนั้นมาให้พร้อมกับเงินทอน เมื่อลูกค้าลุกออกไปแล้วนั้น ทางหน้าประตูก็จะมีพนักงานต้อนกล่าวขอบคุณลูกค้าที่มาใช้บริการ และเชิญให้มาใช้บริการใหม่ พนักงานยังมีความรู้เกี่ยวกับภัตตาคารเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารด้วย ว่าอาหารชนิดนี้มีส่วนผสมอะไรบ้าง มีกี่ขนาด ส่วนบริการ ส่วนนี้ค่อนข้างสบาย เพราะทางเดินนั้นกว้างพอให้รถเข็นสามารถผ่านสวนทางกันได้ที่นั่งของลูกค้าก็สบาย แบรนด์ MKได้มีนโยบายเรื่องการบริการลูกค้า ปัจจุบันใช้วิธีกระจายศูนย์โดยแต่ละสาขาจะได้รับการฝึกให้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และสร้างบริการที่ประทับใจแก่ลูกค้าได้ด้วยตนเอง

Associations

องค์ประกอบของสินค้า อาหารต่างๆ หลายเมนูทั้งไทย – จีน ประโยชน์ของผู้บริโภค ได้รับประทานอาหารที่อร่อย สดใหม่ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ราคาเหมาะสมคุ้มค่ากับราคา ผู้บริโภคเข้าใจข้อมูลเพราะแบรนด์ MKได้ทำการสื่อสารต่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยใช้สื่อต่างๆช่วยสื่อสาร ซึ่งMKจะสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นว่าการมาMKคือมาทานกับครอบครัวเพื่อนฝูง มิใช่การมานั่งทานคนเดียวดูจากการสื่อสารที่ผ่านมาMKได้อย่างเด่นชัด ซึ่งการเชื่อมโยงนี้สอดคล้องกับสโกแลนของMKว่า "ช่วงเวลาแห่งความอบอุ่น" ถ้าหากถามของผู้บริโภคว่าหากนึกถึงร้านอาหารที่สดทีดีต่อสุขภาพและอบอุ่น MK คงเป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้นลำดับแรกในใจผู้บริโภคเป็นแน่แท้

การคุ้มครองคุณค่าแบรนด์ผ่านกฎหมาย (IP Protection)


ในอนาคต MK จะขยายแบรนด์ไปยังต่างประเทศนอกจากญีปุ่น
เพราะฉะนั้นการคุ้มครองคุณค่าแบรนด์ผ่านกฎหมาย (IP Protection)จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุับันการลอกเลียนแบบมีทั่วไป อีกทั้งยังมีการแข่งขันสูงเรื่องคุณภาพในตลาดสูง การคุ้มครองนั้นยังจะให้รักษาผลประโยชน์ชื่อเสียงของ MK ที่สะสมมานานหากไม่ได้ทำการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง อาจจะทำให้คนอื่นลอกเลียนแล้วทำให้เสียชื่อเสียงที่ทำมากเป็นเวลายาวนาน อีกทั้งหากไม่มีมาตราการในการปกป้องคุณค่าแบรนด์ MK ก็คงไม่สามารถขยายตลาดไปยังตลาดต่างประเทศอื่นๆได้ ทั้งนี้ MK ได้มีการรักษาคุณภาพสม่ำเสมอของแบรนด์และมีการอบรมบุคคลกรในองค์กรเป็นประจำ อีกทั้งตรวจสุขภาพแบรนด์ส่ม่ำเสมอถึงเป็นแบรนด์ร้านอาหารแต่หากมีคนเอาไปลอกเลียนแบบจะทำให้เสียชื่อและเป็นการยากที่จะไปทำตลาดในประเทศนั้นๆ ในเมืองไทยอาจจะไม่มีคนลอกเลียนแบบ MKได้แต่ถ้าในต่างประเทศนั้นอาจจะมีการลอกเลียนแบบได้


อะไรเป็นแรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย


ในทุกวันนี้จะเห็นว่ามีแบรนด์ไทยหลายๆแบรนด์ด้วยกันที่ประสบความสำเร็จด้านคุณค่ามากมายในท้องตลาดปัจจุบันเช่น เครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง CP MK SCG เบียร์สิงห์ ซึ่งที่ล้วนเป็นแบรนด์ที่มีคุณค่าในตัวของแต่ละแบรนด์เองโดยที่แบรนด์เหล่านี้ได้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและหนักหนาเป็นอย่างมากในการฝ่าฟันอุปสรรคที่ผ่านมา"อะไรคือปัจจัยที่ทำให้พวกเขาประสบความเร็จ?"
ความมีเอกลักษณ์แบบไทย
จะเห็นได้ว่าหลายแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จไม่ลืมที่จะมีการสอดแทรกความเป็นไทยในตัวก็เพราะความเป็นไทยนี่ละคือเอกลักษณ์ที่แบรนด์อื่นจากต่างประเทศมิสามารถขโมยไปจากเราไปได้นั่นเอง
ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันมีแบรนด์มากมายในท้องตลาดแต่จะมีซักกี่แบรนด์ที่สามารถรักษาไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าได้ ซึ่งแบรนด์ไทยตัวอย่างในข้อนี้จะเห็นได้ชัดสุดคือ SCG ที่มีความจริงใจโดยการบอกกับผู้ถือหุ้นของตนว่า หุ้นของตัวเองกำลังจะตก ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจอย่างมากอีกทั้งทำให้องค์กรและแบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีดูเป็นคนจริงใจ
ผู้นำที่ดี
เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะแบรนด์หรือองค์กรไหนๆ แบรนด์ไทยก็เช่นกันหากขาดผู้นำที่ดี องค์กรก็มิอาจอยู่รอดได้ ผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ผู้นำที่เป็นตัวอย่างที่ดีต่อพนักงานในองค์กร
เช่น ซิคเว่ เบรกเก้ อดีตผู้บริหารของแบรนด์ DTAC เขามีความเป็นผู้นำที่ดีในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง
โดยที่หลัการของเขาคือถ้าหากเขาจะสั่งงานให้ลูกน้องทำเขาจะต้องทำให้ดูก่อน ซึ่งจุดนี้ทำให้DTACประสบความสำเร็จใน
ฐานะแบรนด์ไทยที่แข็งแกร่งแบรนด์หนึ่งได้ หรือคุณ ตัน ภาสกรนที ผู้สร้างแบรนด์โออิชิให้แข็งแกร่ง ซึ่งมักจะออกตามสื่อต่างๆเพื่อเป็นการเรียกความมั่นใจจากลูกค้าและทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่าน่าเชื่อถือ
คุณภาพมาตรฐาน
แบรนด์จะเติบโตไม่ได้เลยหากขาดคุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐานเชื่อถือเป็นปัจจัยแรกๆเลย ซึ่งของที่ผลิตไทยนั้นมีคุณภาพจากต่างประเทศ ดูได้จากการที่ไทยติดอันดับต้นๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีฝีมือและคุณภาพในผลิตสินค้าแบรนด์ที่มีคุณภาพอีก ซึ่งแบรนด์ไทยถือว่าได้เปรียบในจุดนี้ เพราะสามารถที่จะใช้แหล่งผลิตที่มีคุณภาพในประเทศของตัวเองโดยไม่ต้องใช้แรงงานต่างชาติ
จุดยืนที่เด่นชัด
แบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จได้อย่างเด่นชัดในปัจจุบัน จะมีจุดยืนของแบรนด์ที่เด่นชัดและตอบสนองกับรสนิยม ซึ่งแบรนด์ที่โดดเด่นในด้านนี้ก็คือแบรนด์สิงห์ ที่มีจุดยืนเรื่องของความเป็นไทยมาอย่างยาวนาน ทำให้แบรนด์สามารถอยู่ได้ยาวนานและมีความมั่นคงเพราะตัวแบรนด์มีจุดยืนที่มั่นในความภูมิใจที่เป็นแบรนด์ของคนไทย
บุคลากรที่ดี
สิ่งที่สำคัญและมีค่าที่สุดของแบรนด์และองค์กรก็คือ บุคลากรที่ดี หากขาดบุคลากรที่ดีหรือตัวบุคคลในองค์กรนั้นไม่มีความจงรักภักดี ตัวองค์กรหรือแบรนด์ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จและมีคุณค่าในใจผู้บริโภคได้
ดูได้จากSCGที่มีบุคลากรที่ดีเพราะมีการอบรมและดูแลส่งเสริมการศึกษาต่างๆให้บุคลากรมีความรักในตัวองค์กร

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก http://th.wikipedia.org

รายชื่อผู้จัดทำ
กลุ่ม Nice Section:3391

หรินทร์ ตั้งมโนเพียรชัย no.1 id.1490339114
สุทธิพงษ์ ไกรบุตร no.5 id.1500302417
ษมาธร จงธนพิพัฒน์ no.7 id.1500305600
ศิวพร ภูเจริญ no.8 id.1500305832
รักชนก ชมโลก no.9 id.1500305840
ประภัสสร์ อัตถากร no.60 id.1510304791